ส.1 การสืบค้น (Research)

การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์สำหรับวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสระบุรี
ประเภทผลิตภัณฑ์สมุนไพร

กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน


ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร


ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

1. การโฆษณาเกินจริงหรือเป็นเท็จ กรณีเป็นยาแสดงสรรพคุณได้ในเรื่องการรักษาอาการทั่วไป

2. การแสดงฉลาก เช่น ทะเบียนยา ผลิตยาโดยผู้ประกอบโรคศิลปะ

3. รูปลักษณะของผลิตภัณฑ์

4. ช่องทางการจำหน่าย โดยทั่วไปซื้อจากร้านขายยา ยกเว้นยาสามัญประจำบ้าน

5. การส่งเสริมการขาย

6. ความรู้ความเข้าใจของผู้ซื้อ

7. กระแสความนิยม ความเชื่อ หรือวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร : ที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบันมี 3 รูปแบบ ดังนี้

 1. ผลิตภัณฑ์ อาหาร

 2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

 3. .ผลิตภัณฑ์ ยา

ผลิตภัณฑ์อาหาร ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2522 แบ่งประเภทอาหารเป็น อาหารควบคุมเฉพาะ (ต้องขึ้นทะเบียน) อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน อาหารที่ต้องมีฉลาก และอาหารทั่วไป

ประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารที่ควรรู้จัก มีดังนี้

 1. ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ต้องมีฉลาก เช่น เมล็ดธัญพืช ข้าวกล้อง ถั่วงา พริกแห้ง

 2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต (ขอเครื่องหมาย อย.) แต่ไม่ต้องส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ เช่น ผลไม้ตากแห้ง/ดอง/แช่อิ่มบรรจุภาชนะเช่นกล้วยตาก มะม่วงดอง

  3. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต (ขอเครื่องหมาย อย.) และต้องส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ เช่น เครื่องดื่มชนิดน้ำและผงที่ทำจากผัก/ผลไม้/สมุนไพร เครื่องปรุงรส (ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ) ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น กรณีเข้าข่ายโรงงานต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตด้วย สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีฉลากโดยไม่ต้องขอเครื่องหมาย อย. จะต้องแสดงฉลากเพื่อให้ผู้บริโภคได้อาหารที่มีคุณภาพ โดยมีหัวข้อรายละเอียดดังนี้

-ชื่ออาหาร



-ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต โดยมีคำว่า ผลิตโดย

-ปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก

-น้ำหนักสุทธิ กรณีเป็นของแข็งหรือกึ่งแข็ง เช่น กรัม กก.

-วัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือ หมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า ผลิต” “หมดอายุหรือ ควรบริโภคก่อนกำกับแล้วแต่กรณี

กรณีเป็นอาหารควบคุมเฉพาะหรืออาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน ต้องแสดงหัวข้อดังต่อไปนี้

-ชื่ออาหาร

-เครื่องหมาย อย. และ เลข อย.

-ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต โดยมีคำว่า ผลิตโดย

-ปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก

-น้ำหนักสุทธิ กรณีเป็นของแข็งหรือกึ่งแข็ง เช่น กรัม กก.

-ปริมาตรสุทธิ กรณีเป็นของเหลวหรือครึ่งแข็งครึ่งเหลว เช่น ลบ.ซม. ลิตร

-ส่วนประกอบสำคัญ โดยประมาณเป็นร้อยละโดย นน.เรียงจากมากไป

-วัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือ หมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า ผลิต” “หมดอายุหรือ ควรบริโภคก่อนกำกับแล้วแต่กรณี

    นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวมาแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นำสมุนไพรมาใช้นอกเหนือจากการเป็นอาหาร คือสำหรับส่งเสริมสุขภาพ หรือลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหรือความเจ็บป่วย เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ ส่งเสริมสุขภาพผู้ชาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน สมุนไพรเหล่านี้หากมีการแสดงสรรพคุณดังกล่าวข้างต้นจะถูกจัดเป็นยา ไม่สามารถเป็นอาหารตามกฎหมายอาหารได้

    ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 แบ่งประเภทเครื่องสำอางเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุม และเครื่องสำอางทั่วไป

1. เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ได้แก่ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ย้อมผมชนิดถาวร แต่งผมดำ ฟอกสีผม ยืดผม ทำให้ขนร่วง เป็นต้น ซึ่งต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ มีข้อความฉลากภาษาไทยต้องถูกต้องครบถ้วน ข้อความบนฉลากมีข้อความ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษและมีเลขทะเบียนเครื่องสำอางในกรอบเครื่องหมาย อย.

2. เครื่องสำอางควบคุม ได้แก่ ผ้าอนามัย ผ้าเย็นหรือกระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำ มีสารควบคุมตามประกาศฯ ได้แก่ สารป้องกันแสงแดด สารขจัดรังแค ซึ่งต้องแจ้งรายละเอียดก่อนผลิต/นำเข้าฯไม่น้อยกว่า 15 วัน มีข้อความฉลากภาษาไทยต้องถูกต้องครบถ้วน และข้อความบนฉลาก มีข้อความ เครื่องสำอางควบคุม

3. เครื่องสำอางทั่วไป คือเครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ และ สารควบคุม เช่น แชมพูสระผมที่ไม่มี สารขจัดรังแคที่เป็นเครื่องสำอางควบคุม ครีมนวดผม น้ำมันทาผิว โฟมล้างหน้า เป็นต้น

- กรณีผลิตในประเทศ ข้อความฉลากภาษาไทยต้องถูกต้อง ครบถ้วน

- กรณีนำเข้า ต้องส่งมอบหลักฐานประกอบการนำเข้า และต้องจัดทำฉลากภาษาไทยให้มีข้อความครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดภาย ใน 30 วันหลังจากได้รับการตรวจปล่อยให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรได้

ผลิตภัณฑ์ยา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติม 4 ฉบับโดยมีฉบับที่สำคัญ คือ พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 การขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ผู้รับอนุญาต ผลิตยาหรือผู้รับอนุญาตนำสั่งฯยา ผู้ใดประสงค์จะ ผลิต หรือนำสั่งฯ ซึ่งยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณต้องนำตำรับยานั้นมาขอขึ้นทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว จึงจะผลิตยาหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรได้ โดยการแจ้งรายละเอียดในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องมีรายละเอียดดังนี้

(1) ชื่อยา

(2) ชื่อและวัตถุอันเป็นส่วนประกอบของยา

(3) ขนาดบรรจุ

(4) วิธีวิเคราะห์ของยาแผนปัจจุบัน กรณีใช้วิธีนอกตำรายาฯ ยกเว้นยาแผนโบราณไม่ต้องแจ้งวิธีวิเคราะห์ตัวยาสำคัญ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้

(5) ฉลาก

(6) เอกสารกับยา

(7) รายการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การพิจารณาขอขึ้นทะเบียนยาจากสมุนไพร : พิจารณาในประเด็นหลัก ๆ 3 ด้าน ดังนี้

1. ด้านคุณภาพ ต้องพิจารณาจาก วัตถุดิบที่ใช้ มาตรฐานการผลิต ตามตำรายาแผนไทย และมาตรฐานผลิตภัณฑ์

2. ด้านความปลอดภัย พิจารณาจาก ประวัติการใช้ยานั้น ๆ มายาวนานเท่าไร และข้อมูลการศึกษาด้านพิษวิทยา

3. ด้านประสิทธิภาพ พิจารณาจากประวัติการใช้ยามายาวนาน ถ้าไม่มีประวัติการใช้ให้พิจารณาจากข้อมูลการศึกษาทางคลินิก

การพิจารณาตำรับยา พิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับ ชื่อยา สูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ / ข้อบ่งใช้ ความปลอดภัย ฉลากและเอกสารกำกับยา โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขึ้นอยู่กับ บทบัญญัติในพระราชบัญญัติยา กฎกระทรวง องค์ความรู้ตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ มติคณะกรรมการยา และมติคณะอนุกรรมการฯ 

ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสมุนไพร

ยาที่เป็นตำรับยา หรือมีตัวยาที่มีประวัติการใช้เป็นอาหาร และยามาเป็นเวลานานอาจไม่ต้องมีข้อมูลการศึกษาความเป็นพิษ (toxicity studies) แต่จะต้องมีข้อมูลการใช้แต่โบราณ (traditional information) ของตำรับยานั้น หรือตัวยาในตำรับ หรือหลักฐานประวัติการใช้ของยา หรือตัวยาเป็นระยะเวลานาน(documentation of a long period of use) (ระบุระยะเวลา/ประเทศที่ใช้ )

กรณียาหรือส่วนประกอบยามีการใช้เป็นยาหรืออาหาร แต่นำไปพัฒนารูปแบบจากที่เคยใช้ เช่น การสกัดที่ไม่ใช่การใช้แต่โบราณอย่างน้อยจะต้องมีข้อมูลการศึกษาความเป็นพิษ เฉียบพลัน (acute toxicity test) ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก และ/หรือมีข้อมูลการศึกษาความเป็นพิษแบบกึ่งเรื้อรัง (subchronic toxicity test) ความเป็นพิษแบบเรื้อรัง (chronic toxicity test) หรือตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการยากำหนด

กรณีเป็นยาที่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยจะต้องมี ข้อมูลการศึกษาด้านความปลอดภัยตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก และ/หรือ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการยากำหนด

ข้อมูลเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของสมุนไพร

ข้อมูลเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของตำรับยาที่ยอมรับให้ใช้อ้างอิงอาจแบ่งเป็น

1. ข้อมูลการใช้ดั้งเดิม (evidence of traditional use)

2. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ( scientific evidence)

ข้อมูลการใช้ดั้งเดิม (evidence of traditional use) จะต้องเป็นข้อมูลที่มีหลักฐานการใช้สืบต่อกันมานานโดยอาจมีการ บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศหรือตำรายาที่คณะกรรมการ ยอมรับ

ข้อมูลการใช้ดั้งเดิม (evidence of traditional use) รวมถึงข้อมูลตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน (traditional chinese medicine ) การแพทย์อายุรเวท (ayuravedic medicine) และองค์ความรู้ดั้งเดิมของสมุนไพรทางตะวันตก (traditional western herbal medicine) การยอมรับข้อบ่งใช้ตามข้อมูลการใช้ดั้งเดิม จะพิจารณาในลักษณะองค์รวม (holistic principle )ตามหลักการทฤษฎีของการแพทย์ดั่งเดิมนั้น มีดังนี้

1. ตำรับที่มีการปรับปรุง (modified) ไปจากตำรับยาดั้งเดิม(classic formulation) จะต้องเป็นไปตามทฤษฎี วิธีการใช้ และการเตรียมยาบนพื้นฐานขององค์ความรู้ดั้งเดิมนั้น ๆ

2. ตำรับยาที่มีส่วนประกอบของตัวยาจากศาสตร์องค์ความรู้ที่แตกต่างกัน เช่นตัวยาแผนไทยและยาจีนจะต้องมีหลักฐานที่ยืนยันถึงสรรพคุณของตัวยาแต่ละ ตัว และไม่ขัดแย้งกัน

3. ตำรับยาที่ประกอบด้วยตัวยาบางตัวที่มีข้อมูลการใช้ดั้งเดิม แต่บางตัวยามีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ อาจสามารถยอมรับให้รวมกันได้ แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของตัวยาจะต้องสอดคล้องข้อมูลการใช้ดั้งเดิม เช่นตำรับยาแก้หอบหืดใช้ไพลซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม โดยเป็นข้อมูลผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

4. ตำรับยาที่มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลงไปจากองค์ความรู้ดั้งเดิมจะต้อง ยืนยันด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

การโฆษณายา

ในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อมากมาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควบคุมดูแล คือ ยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ ซึ่งต้องขออนุญาตโฆษณาตามกฎหมาย ผู้บริโภคต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ โดยไม่หลงเชื่อตามคำโฆษณาที่เกินจริง ซึ่งการโฆษณาขายยาทางวิทยุกระจายเสียง เครื่องกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ หรือภาพยนตร์หรือทางสิ่งพิมพ์ จะต้องได้รับอนุมัติข้อความ เสียง หรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาจากผู้อนุญาตและ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อนุญาตกำหนด ดังนี้

1. ไม่เป็นการโอ้อวดสรรพคุณยา หรือวัตถุอันเป็นส่วนประกอบของยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ หรือหายขาด หรือใช้ถ้อยคำอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกัน

2. ไม่แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง

3. ไม่ทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดเป็นตัวยา หรือเป็นส่วนประกอบของยาซึ่งความจริงไม่มีวัตถุ หรือส่วนประกอบนั้นในยา หรือมีแต่ไม่เท่าที่ทำให้เข้าใจ

4. ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำให้แท้งลูกหรือยาขับระดูอย่างแรง

5. ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกามหรือยาคุมกำเนิด

6. ไม่แสดงสรรพคุณยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษ

7. ไม่มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น

8. ไม่แสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค หรืออาการของโรคที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 77 (โรคอันตรายเช่น วัณโรคปอด มะเร็ง สมอง ตับ ม้าม ไต หัวใจ)โดยข้อ 5และข้อ 6 ไม่ใช้บังคับแก่ข้อความในฉลากหรือเอกสารกำกับยา ข้อ 1 4 5 6 7 และ 8 ไม่ใช้บังคับแก่การโฆษณาซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

ข้อห้ามในการโฆษณา

ห้ามมิให้โฆษณาขายยาโดยไม่สุภาพ หรือโดยการร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย

ห้ามมิให้โฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพก หรือออกสลากรางวัล

นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม คือ

ห้ามโฆษณาที่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี

ห้ามโฆษณาชักชวนให้ใช้ยาเกินความจำเป็น

ห้ามโฆษณาที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นอาหารหรือเครื่องสำอาง

ห้ามโฆษณาที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานที่ซื้อยาได้สะดวก เช่น ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านกาแฟ

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)มีอำนาจสั่งระงับการโฆษณาขายยาที่เห็นว่า เป็นการฝ่าฝืน พรบ. นี้ได้

ตัวอย่างสมุนไพรที่มีการโฆษณาเกินความจริง

มีสมุนไพรบางชนิดที่ถูกนำไปโฆษณาเกินจริงว่าสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ทันทีทันใด เช่น ไต เบาหวาน มะเร็ง และอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นการหลอกลวงประชาชน ซึ่งสมุนไพรที่พบว่ามีการโฆษณาเกินจริง เช่น แปะก้วย (Ginkgo; Ginkgo biloba) โสมเกาหลี (Korean Ginseng; Panax ginseng) มะขามแขก (Senna; Cassia senna) แฮ้ม ว่านชักมดลูก ลูกยอ กระชายดำ กวาวเครือ สาหร่ายเกรียวทอง เป็นต้น

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยต้องสังเกตว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทใด เช่น ยา อาหาร เครื่องสำอาง มีชื่อผู้ผลิต/จำหน่าย และที่อยู่ชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปมีข้อแนะนำดังนี้

1. ใช้ให้ถูกต้น ถูกส่วน ถูกขนาด ถูกอาการ

2. ไม่ควรใช้มากหรือถี่เกินไป

3. อ่านฉลากก่อนใช้ อ่านให้ละเอียดก่อนใช้

4. เมื่อเริ่มใช้ควรสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นให้หยุดใช้ยาแล้วปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

5. ควรระมัดระวังในเรื่องความสะอาดของสมุนไพร เช่น เชื้อโรคปนเปื้อน

6. สังเกตว่าเสียหรือหมดอายุหรือไม่

7. ปรึกษาผู้ที่มีความรู้ในการให้คำแนะนำที่ถูกต้อง

8. รู้สิทธิของผู้ซื้อ/ผู้บริโภคเมื่อพบปัญหาร้องเรียนได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 1556

ดังนั้น การเลือกใช้สมุนไพรอย่างปลอดภัยและไม่ถูกหลอก นอกจากจะมีกฎหมายมารองรับเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับหนึ่งแล้ว แต่ผู้บริโภคเองยังมีส่วนสำคัญในการที่จะต้องดูแลคุ้มครองสิทธิของตนเองโดย ตระหนักถึงความปลอดภัยในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เป็นหลัก รวมทั้งต้องแสวงหาความรู้รับข้อมูลตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและน่า เชื่อถืออยู่เสมอ เพื่อสิทธิประโยชน์และความปลอดภัยของผู้บริโภคนั่นเอง

ที่มา : http://goo.gl/XmxEnC

ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ประกอบการ
 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองเขื่อนช้าง
รหัสทะเบียน 1-19-01-09/1-0001


















ชื่อ-สกุล นางไพลิน แย้มเกตุ
อายุ 63 ปี
ที่อยู่ 41 หมู่ 4 หมู่บ้าน หนองเขื่อนช้าง ตำบล หนองยาว อำเภอ เมือง จังหวัดสระบุรี 18000
โทรศัพท์ 0896872186

แผนที่ : จุดพิกัด 14.465985, 100.882749
















แบบสรุปผลการสัมภาษณ์และผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นทางการออกแบบ
การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑด้าน สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัด สระบุรี
วันที่ 22/08/2558 เวลา10.30 น.  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองเขื่อนช้าง  เขตอำเภอ เมือง
ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน(CE) ประเภท สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการ

ชื่อ/ผู้ให้สัมภาษณ์/ผู้ให้ข้อมูล นาง ไพลิน   แย้มเกตุ อายุ 63 ปี

ตำแหน่งงาน ประธานกลุ่ม ประสบการณ์ทำงาน 16 ปี

ชื่อประธานกลุ่ม/เจ้าของกิจการ/ผู้มีอำนาจตัดสินใจนางไพลิน  แย้มเกตุ

ข้อมูลเป็น  ภาษาอังกฤษไทย ( Thai Information )

ชื่อที่ระบุเป็นผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย/ผู้ประกอบการ/ชื่อองค์กร/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มงานโครงการ/กลุ่มแม่บ้าน/บุคคล/กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองเขื่อนช้าง

ที่อยู่ สถานประกอบการเลขที่ 41 หมู่ที่ 4 ชื่อหมู่บ้าน หนองเขื่อนช้าง

ตำบลหนองยาว อำเภอ เมือง จังหวัด สระบุรี หัสไปรษณีย์ 18000

โทรศัพท์สถานประกอบการ 0896872186

ข้อมูลเป็น  ภาษาอังกฤษ ( English information )

ชื่อที่อยู่ระบุผู้ผลิต Nong Khuen Chang Community Enterprise
ที่อยู่ สถานประกอบการเลขที่ 41 หมู่ที่ 4 ชื่อหมู่บ้าน Nong Khuen Chang
ตำบล NongYao อำเภอ Mueng จังหวัด Saraburi รหัสไปรษณีย์ 18000 
โทรศัพท์สถานประกอบการ 0896872186
เบอร์มือถือส่วนตัวผู้ติดต่อ/ผู้ให้สัมภาษณ์/ผู้มีอำนาจตัดสินใจ 0896872186
ที่อยู่อีเมลส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์/ประสานงาน Pairinherb99@gmail.com
ที่อยู่อีเมลทางธุรกิจปัจจุบันของสถานประกอบการ Pairinherb99@gmail.com
วิธีการติดต่อ/สื่อสารที่สะดวก โทรศัพท์ 0896872186
เริ่มประกอบการตั้งแต่เมื่อพ.ศ.2542
มีเอกสาร/ข้อมูลแนบให้คือ( )นามบัตร(/ )แผ่นพับ( )CD
ตราเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนหลัก(Trademark/BrandName)คือ












ไม่มี ไฟล์ต้นแบบอาร์ตเวิร์ค
2.ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ
ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการให้พัฒนา ศักยภาพ
ผลิตภัณฑ์เดิมคือ สบู่ล้างหน้า ทองคำ-ขมิ้น-มะขาม
ต้องการออกแบบพัฒนาด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า
ชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาไทย สบู่ล้างหน้า ทองคำ-ขมิ้น-มะขาม
ชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาอังกฤษ(ProductName) Gold Turmeric Soap
คำอธิบายเกี่ยวกับตัวสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ( Product Info for Print)
สรรพคุณ/ความดี(Benefit/grade/Level)ไทย/อังกฤษ 
ทำความสะอาดผิวหน้า ลดผดผื่น และสิวเสี้ยน บำรุงผิวให้นุมนวล
ส่วนประกอบที่สำคัญ( Ingredients) ไทย/อังกฤษ
ทองคำ ขมิ้น มะขาม
วิธีการใช้งานและการเก็บรักษา(Usage/Storage) ไทย/อังกฤษ
วิธีการใช้งาน  ใช้ทำความสะอาดผิวหน้า
วิธีการเก็บรัักษา อุณหภูมิห้อง
4.ตราสัญลักษณ์ละมาตรฐานต่างๆที่ได้รับและยังมีสิทธิ์อนุญาตการนำมาใช้ 
4.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช) ทะเบียนเลขที่ ไม่มีช่วงปีที่ได้รับอนุญาตใช้ ไม่มี4.2 เครื่องหมายโอทอป ระดับดาวโอทอป ไม่มี  เมื่อปีพ.ศ ไม่มี
4.3 ตราสัญลักษณ์มาตรฐานสินค้าประจำจังหวัด ไม่มี เลขที่ ไม่มี
4.4 ทะเบียนฉลากยา(อย).สำหรับสินค้า ไม่มี หมายเลข ไม่มี
4.6 เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)สำหรับสินค้า ไม่มีหมายเลข ไม่มี
4.7.เครื่องหมายรหัสแท่ง (Bar Code) 13 หลัก EAN
สำหรับสินค้า -เลขรหัส
| - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - |
4.8 เครื่องหมายรหัส QR ข้อความที่ใช้คือ ไม่มี
4.9 เครื่องหมายมาตรฐานการผลิตผลิต (GMP.) ไม่มี หมายเลข ไม่มี
4.10 เลขที่ใบรับแจ้ง 1-19-01-09/1-0001

ข้อมูลอื่นๆที่ต้องการสื่อสารกับลูกค้า หรือเพื่อการพัฒนาศักยภาพ

ต้องการให้ขนส่งง่าย มีตราสินค้าอยู่กับตัวสินค้า และมีข้อมูลภาษาอังกฤษ

5.ไฟล์ภาพประกอบและกราฟิกที่จำเป็นต้องมีและใช้พิมพ์บนผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์จริง

 ผู้ประกอบการต้องมอบไฟล์ต่างๆ(ที่มีตามข้อ 4 )ให้แก่ทีมที่ปรึกษาออกแบบ เพื่อใช้ประกอบงานออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อไม่ให้ตราสัญลักษณ์และกราฟิกอัตลักษณ์เดิมที่มีใช้งานจริงของท่าน ไม่ผิดเพิ้ยน ซึ่งจะมอบคืนให้พร้อมต้นแบบใหม่ที่ได้ออกแบบให้ ไฟล์ที่จำเป็นใช้ได้แก่ (ถ้ามี)
5.1 ไฟล์แบบตัวพิมพ์ที่ซื้อลิขสิทธิ์ (Corporate Font License) แล้ว  ไม่มี
ฟ้อนต์ที่ใช้พิมพ์ โลโก้ และหรือข้อความต่างๆทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ) มีดังนี้คือ ( หากไม่มี ผู้ออกแบบจะจัดหาและใช้ฟ้อนต์ฟรี ของไทย TH fonts และ free commercial fonts ตามที่จะสามารถจัดหาให้ได้)
5.2 ไฟล์ตราสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ( Brand/Logo/Trademark Symbol) Image file Resolutions 300 dpi,  .psd .jpg ,Vector filetype .ai,.cdr  ไม่มี 
5.3 ไฟล์ภาพประกอบบนสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ขนาดไฟล์ภาพ 3 ล้านพิเซลส์ขึ้นไป ไม่ม
5.4 จะส่งมอบไฟล์ต่างๆให้ทางอีเมล/line/ Online  Contact กับทีมที่ปรึกษา ไม่มี
 6. ภาพรวมความต้องการงานออกแบบ (Design Brief)
กรุณาเลือกระดับภาพรวมของอารมณ์และความรู้สึกของท่านที่ต้องการให้ออกแบบใหม่(New Design) การพัฒนาแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ( Re design)

Mood & Feel (อารมณ์และความรู้สึกที่ต้องการให้ออกแบบ หรือพัฒนา)กรุณาเลือกกำหนดค่าระดับความต้องการสื่อสารจากค่าน้อยไปหามากนับ จากจุดกลางไปทางซ้ายหรือขวาด้านใดด้านหนึ่งค่าระดับ 0 คือค่าเลือกที่เป็นกลาง

ความต้องการแบบ
4
3
2
1
0
1
2
3
4
ความต้องการแบบ
Elegant (หรูหรา)


/






Bold (แรง เข้มแข็ง)
Playful (เรียบง่าย สบาย)
/








Serious (จริงจัง หนักแน่น)
Traditional(ตามแบบอย่าง)







/

Modern (ใหม่ /ดูทันสมัย)
Personable (ง่าย ส่วนตัว)

/






Professional (แบบมืออาชีพ)
Feminine(แนวผู้หญิง)


/





Masculine (แนวผู้ชาย)
Colorful (หลากสีสันสนุก)


/






Conservative (เชิงอนุรักษ์)
Economical(ถูก-ประหยัด)
/








Upmarket (แพง-ตลาดบน)

ท่านต้องการงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) สื่อส่งเสริมการขาย ( Promotion Media) และสื่อการสร้างประสบการณ์ร่วมในตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ดังนี้คือ

(   )ต้นแบบตราสัญลักษณ์ เพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จะใช้กับสินค้าหรือบริการ

( )สื่อสิ่งพิมพ์(Printed Media) เพื่อการสื่อสารและการบริหารจัดการธุรกิจทั้งภายในและภายนอกในองค์กร

(   ) สื่อส่งเสริมการขายสินค้าและการบริการ ( Promotional Media)

( /)สื่อการสร้างประสบการณ์ร่วมในตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์(Brand Experience /Brand Image Media)

 7.วิธีการขนส่ง วิธีการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์สินค้า
7.1 ต้องการออกแบบให้เหมาะสมกับการขนส่งภาย ในประเทศ โดยทาง ( / ) รถยนต์ (   ) รถไฟ (  ) เรือ (  ) เครื่องบิน ( / )อื่นๆ ไปรษณีย์   มิติการขนส่ง ขนาด กว้าง............ยาว..............สูง............... 
7.2 ต้องการออกแบบให้เหมาะสมกับการขนส่งต่างประเทศ โดยทาง ( /  ) รถยนต์ ( /  ) รถไฟ   (  ) เรือ
( / ) เครื่องบิน    มิติการขนส่ง ขนาด กว้าง..............ยาว................สูง................  
วิธีการจัดจำหน่าย 
( / ) จัดขายเฉพาะงาน 
( / ) ขายส่งต่อคนกลาง 
( / ) ขายประจำ ณ ที่ทำการกลุ่ม    
( /) ขายฝากร้านขายของชำทั่วไป/ห้างร้าน/ห้างสรรพสินค้าชื่อ...ร้านค้า OTOP COMP สระบุรี
(   ) มีร้านค้า-ที่ทำการ ชื่อ........................................................................................................
7.3 การซื้อ-ขาย / วิธีการจัดจำหน่ายในประเทศ/ การส่งออกต่างประเทศ 
( /) ดำเนินการเอง  
(  ) ผ่านคนกลาง 
(  ) ห้าง/ร้าน……………………................................ 
(  ) ผ่านทางออนไลน์ติดต่อผ่านอีเมล /facebook /เว็ปไซต์ 
URL http://:……………………........................ 
7.4 ราคาจำหน่ายสินค้า
ชื่อผลิตภัณฑ์/สินค้า ลูกประคบสมุนไพร

ราคาขายปลีก 80 บาท / 180 กรัม/ชิ้น

ขายส่ง/ส่วนลด 12ชิ้น / 60 บาท

ชื่อผลิตภัณฑ์/สินค้า สบู่ล้างหน้า ทองคำ-ขมิ้น-มะขาม

ราคาขายปลีก  80  บาท / 90  กรัม/ชิ้น

ขายส่ง/ส่วนลด 12ชิ้น / 60 บาท

ชื่อผลิตภัณฑ์/สินค้า ครีมสมุนไพรคลายเส้น

ราคาขายปลีก 120 บาท / 120 กรัม/ชิ้น
ขายส่ง/ส่วนลด 12ชิ้น / 100 บาท
ชื่อผลิตภัณฑ์/สินค้า ตะไคร้ไล่ยุง
ราคาขายปลีก 80 บาท / 120 กรัม/ชิ้น
ขายส่ง/ส่วนลด 12ชิ้น / 60 บาท
ชื่อผลิตภัณฑ์/สินค้า สบู่เหลวขมิ้น มะนาว
ราคาขายปลีก 80 บาท / 240 กรัม/ชิ้น
ขายส่ง/ส่วนลด 12ชิ้น / 60 บาท
ชื่อผลิตภัณฑ์/สินค้า แชมพูสมุนไพร มะกรูด ว่านหางจระเข้
ราคาขายปลีก 80 บาท / 240 กรัม/ชิ้น
ขายส่ง/ส่วนลด12ชิ้น / 60 บาท
8.ปัจจุบันสภาพ/ปัญหาที่เกิดขึ้น /ความต้องการพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์
( Problem Situations / Swot Analysis)
การวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน/ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการดำเนินธุรกิจ ในฐานะของผู้ประกอบการ(ด้านการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์)
จุดอ่อน : บรรจุภัณฑ์ยังสู้คู่แข่งไม่ได้
จุดแข็ง : ตัวผลิตภัณฑ์ทำมาจากสมุนไพรแท้ๆ ที่มีคุณภาพและสรรพคุณสินค้าเห็นผลจริง
อุปสรรค : 
( / ) ได้มอบ (  )ให้ยืม ตัวอย่าง/สินค้า   ให้ทีมที่ปรึกษาเพื่อศึกษา-ออกแบบ จำนวน2รายการ คือ
  สบู่ ทองคำ ขมิ้น มะขาม และ ลูกประคบสมุนไพร
9.วาดแผนที่ตั้งสถานประกอบการ/สำนัก งานขาย/สถานที่จัดจำหน่าย/หรือสถานที่เข้าร่วมปรึกษาและแจ้งแนวคิด-ความต้อง การพัฒนา-ให้เป็นโจทย์เพื่อการออกแบบพัฒนาไว้เพิ่มเติม



อธิบายบอกเพิ่มเติม
ชื่อผู้บันทึก นางสาวศศิธร โทณะวณิก วันที่ 22/08/2558
ลงชื่อ นางสาวศศิธร โทณะวณิก ทีมที่ปรึกษาด้านออกแบบพัฒนา
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์/ผู้ประกอบการ นาง ไพลิน   แย้มเกตุ
ลงชื่อ นาง ไพลิน   แย้มเกตุ ตำแหน่ง ประธาน
วันที่ 22/08/58 เวลา 10.30
  

ผู้วิเคราะห์ข้อมูล : นางสาวศศิธร โทณะวณิก

1.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวสินค้า 


ชื่อสินค้า : สบู่ล้างหน้า ทองคำ ขมิ้น มะขาม
ประเภทสินค้า : สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
สถานะผลิตภัณฑ์ : ของแข็ง
สีของผลิตภัณฑ์ : สีเหลืองอ่อนอมน้ำตาล
สิ่งผสม : ทองคำ ขมิ้น มะขาม
วิธีใช้ผลิตภัณฑ์ : ทำความสะอาดผิวหน้า
สีบรรจุภัณฑ์ : พลาสติกใส
ขนาด/มิติ : สูง 6 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว ยาว 2.5 นิ้ว
ผลิตโดย : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองเขื่อนช้าง 41 หมู่ 4 หมู่บ้าน หนองเขื่อนช้าง ตำบล หนองยาว อำเภอ เมือง จังหวัดสระบุรี 18000
เบอร์โทรศัพท์ : 0896872186
HOMEPAGE : ไม่มี
Facebook : ไม่มี

รูปด้านของบรรจุภัณฑ์ 


ขนาดของผลิตภัณฑ์
 
Product's Package Visual Analysis Structure and Graphic Components
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น

การศึกษาตัวบรรจุภัณฑ์และการออกแบบฉลากของผลิตภัณฑ์เดิม
ด้วยโปรแกรม Sketch up



แบบจำลองผลิตภัณฑ์ที่ศึกษา
การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งอุปสรรคและโอกาส (SWOT Analysis)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น